วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แมงมุม




แมงมุม





แมงมุม (อังกฤษ: Spider) จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาปล้อง หรืออาร์โธพอด เช่นเดียวกับแมลง, กิ้งกือ, ปู เป็นต้น จัดอยู่ในอันดับ Araneae (/อา-รัค-เน/) มีรูปทรง ลักษณะ และขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไป บางชนิดมีลําตัวที่กว้างมาก บางชนิดมีรูปร่างที่เพรียวยาว ขณะที่บางชนิดกลับมีรูปร่างที่คล้ายกับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เช่น มด หรือปู เพื่อใช้ในการพรางตัว
โดยแมงมุมนั้นถูกค้นพบแล้วกว่า 40,000 ชนิด และก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจํานวนที่ถูกค้นพบนี้เป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของทั้งหมดที่มีเท่านั้น โดยแมงมุมขนาดเล็กที่สุด พบที่โคลัมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตรเท่านั้น และที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงมุมกินนกโกไลแอท มีความยาวลําตัว 12-13 เซนติเมตร หรือขนาด 25-33 เซนติเมตรเลยทีเดียว
แมงมุมพบได้ในแทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้งและร้อนอบอ้าว หรือในถ้ําลึก หรือภูเขาสูง หรือในน้ํา แต่ทั้งหมดเป็นสัตว์กินเนื้อ
แมงมุมกินอาหารจําพวก เพลี้ยอ่อน, ตัวหนอน, ผีเสื้อ, แมลงวัน, ยุง, ปลวก, ด้วง, มด เป็นตัน จึงมีความสําคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป โดยส่วนใหญ่เมื่อจะล่าเหยื่อจะสร้างใยเพื่อเป็นรังอาศัย และดักเหยื่อ ในขณะที่บางชนิดไม่สร้างใยก็มี ซึ่งก็จะมีการใช้เส้นใยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการอยู่อาศัยของแมงมุมในแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น ๆ

ใยของแมงมุม





ใยของแมงมุมมีคูณสมบัติเหนียวเป็นพิเศษแถมยืดหยุ่นได้ดีมาก...ใยแมงมุมแม้จะมีขนาดเล็กและบางมากแต่มันก็สามารถรับน้ำหนักได้ดี..เรียกได้ว่ามีความแข็งแรงสุดๆ
ยามที่มีน้ำค้างมาเกาะยิ่งสร้างความสวยงามมากขึ้น
ใยแมงมุมประกอบด้วยใยเส้นเล็กๆจำนวนมากที่ถูกถักทอมารวมกันจนทำให้มันมีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก...

แมงมุมเป็นสัตว์หรือแมลงกัน ?
เรามักเข้าใจอยู่เสมอว่าแมงมุมเป็นแมลง แต่จริงๆ แล้วแมงมุมเป็นสัตว์ที่อยู่ในกลุ่ม "แมง" ซึ่งนอกจากแมงมุมแล้ว ยังมีแมงป่อง เห็บ ไร แมงทั้งหลายมี 8 ขา
แมงมุมไม่ใช่แมลง แมงมุมมีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง คือมี 8 ขา (แมลงมี 6 ขา) ในขณะที่แมลงมีลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน (เช่น ส่วนหัว, อก,และท้อง) แมลงมุมมีเพียงสองส่วนเท่านั้น ส่วนหน้าเรียกว่า cephalothorax และส่วนที่เป็นลำตัวประกอบไปด้วยส่วนหัวและส่วนอกเชื่อมติดต่อกัน ส่วนหลังเรียกว่าส่วนท้อง แมงมุมจะไม่มีปีก

โครงสร้างชีวภาพของแมงมุม


แมงมุมจัดอยู่ใน Class Arachnida, Order Araneae หรือ Araneida ลักษณะที่สำคัญคือ มีลำตัวเป็นปล้อง ๆ ส่วนหัวและอกรวมกัน ส่วนท้องซึ่งเป็นถุงแยกออกจากส่วน หัวและอกมี pedicel คั่นอยู่ แมงมุมมีขา 4 คู่ ปากมีเขี้ยวพิษที่เรียกว่า chelecerae ซึ่งมีท่อต่อถึงส่วนที่เป็นส่วนหัวและอกซึ่งเป็นที่อยู่ของต่อมพิษ
ต่อมผลิตใยของแมงมุม  อยู่ที่ปลายสุดของส่วนท้อง แมงมุมจะชักใยเพื่อสร้างที่อยู่อันปลอดภัย และใช้จับเหยื่อนอกจากนี้ยังใช้ใยสร้างถุงใส่ไข่ของมันด้วย
แมงมุมเป็นกลุ่มตัวห้ำที่พบมาก และมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยรักษาระดับประชากรของศัตรูพืช ไม่ให้อยู่ในระดับที่เกิดความเสียหาย โดยจะมีพฤติกรรมการจับเหยื่อหลากหลายรูปแบบแล้วแต่ชนิดของแมงมุม ส่วนใหญ่ออกหากินเวลากลางคืน บางชนิดย่องจับเหยื่อ บางชนิดคอยให้เหยื่อเข้ามาติดกับดัก แมงมุมหลายชนิดสร้างใยสำหรับให้เหยื่อเข้ามาติดก่อนที่จะเข้าไปหาและฆ่าเหยื่อ พบว่าแมงมุมจำนวนมากสร้างใยที่บางเบา ใช้จับแมงวันและแมลงตัวเล็กอื่น ๆ แมงมุมมีเขี้ยวสำหรับจับเหยื่อ และส่วนใหญ่ทำให้เหยื่อของมันเป็นอัมพาตด้วยพิษ ก่อนที่จะฆ่าและกินเหยื่อนั้น โชคดีที่มีแมงมุมเพียงไม่กี่ชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

อาหารของแมงมุม

อาหารของแมงมุม ได้แก่ เพลี้ยอ่อน ไร ตัวหนอน แมลงวัน ด้วงเต่า อื่น ๆ



กลุ่มของแมงมุม
แมงมุมหลายชนิดที่มีอยู่ปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม โดยจำแนกตามวิธีการจับหาอาหารของเขา กลุ่มหนึ่งประกอบไปด้วยแมงมุมประเภทล่าที่จะมีการเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ เพื่อค้นหาอาหารของเขา แมลงมุมจะเคลื่อนที่ไปไกล ๆและใช้เวลามากในการค้นหาอาหาร แมงมุมอีกกลุ่มหนึ่งจะสร้างตาข่ายเพื่อรอหาอาหารที่จะมาติดกับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมงมุมชนิดนี้มีความสำคัญกับแมลงมีปีกบิน เช่นตัวเต็มวัยของผีเสื้อกลางคืน
แมงมุมทั้งสองชนิดคือพวกทำการล่าและพวกที่สร้างตาข่ายเป็นกับดัก  เป็นแมงมุมทั่วๆไปแต่สิ่งที่สำคัญคือเป็นตัวห้ำที่อยู่ใน แปลงพืชผัก และแปลงไม้ผลและมันอยู่ในแปลงนาข้าวอีกด้วย ความหนาแน่นของประชากรของแมงมุมขึ้นอยู่กับชนิดของแมลงที่เป็นอาหาร ถ้ามีจำนวนอาหารอยู่มาก แมงมุมเพศเมียจะวางไข่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อจำนวนแมลงมีจำนวนเพิ่มขึ้น จำนวนของแมงมุมก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน และยังมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย
  
แมงมุมที่มีพิษร้ายแรง
แมงมุมหลายพันธุ์มีพิษ แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดที่มีพิษร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่เรียกว่า Latrodectus mactan หรือ แมงมุมแม่ม่ายดำ (Black widow spider) ชนิดที่มีพิษรุนแรง (Severe human poisoning) ได้แก่ Latrodectus, Loxosceles, Phonentria และ Atrax พันธุ์ที่มีพิษมากที่สุดพบในสหรัฐอเมริกา น้ำพิษมีพิษร้ายแรงทำให้คนเสียชีวิตได้ ขนาดของตัวเมียโตประมาณ 13 มิลลิเมตร ลำตัว ท้อง และขามีสีน้ำตาลดำ หน้าท้องจะมีรูปลักษณะคล้ายนาฬิกาทรายสีส้มแดง เห็นได้ชัด มักอาศัยอยู่ในที่มืด ในกองไม้ ตอไม้ รอยแตกของพื้น
แมงมุมพิษ มีหลากหลายชนิด จงอยู่ให้ห่าง มาสำรวจแมงมุมพิษร้ายแรงที่สุดในโลกพร้อมมีวิธีปฐมพยาบาล หากถูกแมงมุมพิษกัด
ตัวอย่างแมลงมุมที่มีพิษร้ายแรง


1.             แมงมุมแม่ม่ายดำ ตัวผู้กับตัวเมียจะมีลักษณะแตกต่างกันคือ ตัวเมีย จะมีความยาว 1-2 เซนติเมตร มีสีดำ ตัวกลม ท้องจะมีลายเป็นรูปนาฬิกาทรายสีแดง ส่วนแมงมุมแม่ม่ายดำตัวผู้ ตัวจะเล็กกว่าตัวเมียประมาณ 20 เท่า มีสีน้ำตาล และไม่มีลายนาฬิกาทรายที่ท้อง ด้วยความที่ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเยอะ มันจึงไม่สามารถกัดคนได้ ดังนั้นแมงมุมแม่ม่ายสีดำที่กัดมนุษย์ จึงเป็นตัวเมียเท่านั้น พิษของแมงมุมแม่ม่ายสีดำ จะเป็นพิษที่มีผลต่อระบบประสาท โดยพิษจะทำให้เกิดช่องว่างบริเวณปลายเซลล์ประสาท ผลที่ตามมาคือ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งจนเป็นอัมพาต ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตมามักมาจากกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน ส่วนอาการที่เกิดขึ้นนั้น ระยะแรกอาจมีแค่ผื่นแดงๆ และรู้สึกปวดบริเวณที่ถูกกัด ต่อมาภายใน 30 นาที ผิวหนังรอบแผลที่ถูกกัดแดงขึ้น และเหงื่อออก พร้อมทั้งรู้สึกชาและปวดแผล นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ ความดันสูง มือสั่น ชัก ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดไตวายเฉียบพลัน จนถึงขั้นเสียชีวิตได้


2.             แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล จะมีขนาดเล็กกว่าแมงมุมแม่ม่ายดำเล็กน้อย ตัวกลม มีลายเป็นรูปนาฬิกาทรายสีส้มหรือเหลืองบริเวณหน้าท้อง พิษของแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาลจะรุนแรงกว่าแมงมุมแม่ม่ายดำ 2 เท่า ถ้าเทียบพิษในปริมาณที่เท่ากัน แต่แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาลจะปล่อยพิษในการกัดแต่ละครั้งน้อยมาก โดยพิษที่เกิดขึ้นก็เป็นพิษทางระบบประสาทเช่นกัน ทำให้เกิดอาการเกร็ง กระตุกในบริเวณที่โดนกัด อย่างไรก็ตามพิษจะไม่ทำให้เกิดภาวะเนื้อตายตรงบริเวณที่ถูกกัด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าชนิดแมงมุมที่เป็นข่าวไม่ใช่แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล ปกติแล้วแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาลไม่ก้าวร้าว ซึ่งถ้าถูกรบกวนมากๆ จะวิ่งหนีเข้าซอกด้วยซ้ำ ดังนั้นแมงมุมชนิดนี้มีโอกาสกัดคนน้อยมาก ถ้าถูกกัดแสดงว่าไปจับหรือไปทับมันจนได้รับบาดเจ็บ มันจึงกัดเข้าให้



3.             แมงมุมพิษสีน้ำตาล เป็นแมงมุมที่อยู่ในข่าวนี้นั่นเอง แมงมุมชนิดนี้มีขนาดเล็กประมาณ 6-20 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลหรือเหลืองเข้ม มีลักษณะเด่นคือ ด้านหลังตรงช่วงศีรษะถึงอกของแมงมุมจะมีลายสีดำๆ คล้ายรูปไวโอลิน มีขาเรียวยาวเมื่อเทียบกับลำตัว แมงมุมชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ในที่มืดค่ะ ไม่ว่าจะเป็นตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้า เตียงนอนก็สามารถพบเจอได้เหมือนกัน ดังนั้นเราอาจจะถูกกัดได้เพราะไปโดนมันแบบไม่รู้ตัว พิษของแมงมุมชนิดนี้จะออกฤทธิ์ทั้งทางผิวหนังและระบบเลือด (แต่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท) ทำให้ผิวหนังมีอาการปวดและคันบริเวณที่ถูกกัดหลัง 2-8 ชั่วโมง จากนั้นก็จะมีตุ่มน้ำพอง บวมแดง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ขนถึงขั้นแผลเริ่มดำไหม้ ทำให้ผิวหนังตายได้ถึงร้อยละ 37 ส่วนพิษต่อระบบเลือดนั้น จะทำให้เกิดความผิดปกติหลายอวัยวะ โดยมีอาการแสดงทำให้เกิดเม็ดโลหิตแดงแตก เกร็ดเลือดต่ำ มีการแข็งตัวของเกร็ดเลือดกระจายทั่วร่างกาย เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในมากๆ



วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงมุมพิษกัด
แม้ว่าแมงมุมพิษจะมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่วิธีปฐมพยาบาลก็มีรูปแบบที่คล้ายกัน นั่นคือ สิ่งแรกที่ต้องทำคือรีบล้างแผลให้สะอาด แต่ห้ามล้างแผลด้วยน้ำร้อนและการนวดโดยเด็ดขาด ต่อมาคือการขันชะเนาะเหนือบาดแผล ไม่ให้พิษไหลไปตามกระแสเลือด ก่อนที่จะนำตัวส่งโรงพยาบาลต่อไป
ส่วนวิธีการรักษาพยาบาลของแพทย์นั้น มักจะรักษาตามอาการ เนื่องจากไม่มีเซรุ่มหรือยาถอนพิษ ถ้าหากมีอาการร้ายแรงมากก็อาจจะต้องมีการให้เลือดหรือฟอกไตเลยทีเดียว

การป้องกันกำจัด
ถึงแมงมุมจะไม่ใช่สัตว์มีพิษร้ายแรง แต่ก็คงไม่มีใครอยากให้แมงมุมสร้างรังลอยนวลอยู่ร่วมบ้านกับเราแน่ ๆ โดยเฉพาะกับคนที่เกลียดกลัวแมงมุมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็คงต้องรีบสรรหาวิธีไล่แมงมุมออกจากบ้านอย่างเร่งด่วนถ้าบังเอิญพบใยแมงมุมหรือเห็นแว๊บ ๆ ว่าเจ้าแปดขากำลังวิ่งพล่านอยู่ในบ้าน แต่จะมีวิธีไล่แมงมุมแบบไหนที่ไม่ต้องใช้สารเคมี ไม่ทำอันตรายกับทั้งคนในบ้าน และเจ้าแมงมุมด้วย เอ้า ! วิธีไล่แมงมุม ต่อไปนี้ล่ะจ้า ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ครบทุกข้อเลย ว่าแล้วก็มาศึกษาวิธีไล่แมงมุมด้วยสูตรธรรมชาติกันเลย
 1. ไล่แมงมุมด้วยสเปรย์เปปเปอร์มิ้นต์
ไม่ต้องไปหาซื้อน้ำยาป้องกันแมงมุงจากที่ไหนให้ยุ่งยาก เพราะเพียงแค่คุณผสมน้ำกับน้ำมันหอมระเหยกลิ่นเปปเปอร์มิ้นต์หรือตะไคร้หอมไว้ในกระบอกสเปรย์ แล้วจัดการฉีดพรมสเปรย์ที่ทำไว้ให้รอบบ้าน เน้นตรงจุดที่มักจะเจอแมงมุมไต่อยู่ด้วยก็ดี แค่นี้เจ้าแมงมุมก็จะไม่มากวนใจอีกต่อไป เพราะแมงมุมกับกลิ่นเปปเปอร์มิ้นต์ฉุน ๆ ไม่ค่อยถูกกันสักเท่าไหร่

 2. สเปรย์น้ำส้มสายชูป้องกันแมงมุม
หากไม่อยากวุ่นวายหาซื้อน้ำมันหอมระเหยกลิ่นเปปเปอร์มิ้นต์ คุณก็สามารถใช้น้ำส้มสายชูแทนเปปเปอร์มิ้นต์ก็ได้ โดยผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำสะอาดเข้าด้วยกัน เทใส่กระบอกสเปรย์ แล้วฉีดพรมให้ทั่วบ้านเพื่อป้องกันแมงมุมไม่ให้เข้ามาใกล้บ้าน แต่อาจจะต้องทนกลิ่นฉุนเปรี้ยว ๆ ของน้ำส้มสายชูสักหน่อยนะ
 3. ทำความสะอาดบ้านให้หมดจด



วิธีที่จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่าลำบากก็ไม่เต็มปากนักอย่างการทำความสะอาดบ้าน ก็เป็นวิธีไล่แมงมุมอีกวิธีหนึ่งที่เห็นผลชัดเจนเหมือนกัน เพราะถ้าเราจัดการความรกในบ้านได้ทุกจุด เหล่าแมงมุมก็จะไม่มีที่ซ่องสุม และไม่มีโอกาสทำรังอยู่ ดังนั้นหากกลัวแมงมุมก็ต้องห้ามขี้เกียจทำงานบ้านเด็ดขาดเลยนะจ๊ะ

 4. เลี้ยงน้องเหมียวเฝ้าบ้านจากแมงมุม
สัตว์เลี้ยงขนนุ่มนิ่มอย่างน้องเหมียวก็มีส่วนช่วยป้องกันแมงมุมได้ด้วยนะคะ เพราะแมวมีสัญชาตญาณในการไล่ล่าพอสมควร ยิ่งได้เห็นสัตว์ที่ตัวเล็กกว่า น้องเหมียวก็จะให้ความสนใจ และไล่จับแมงมุมมาเล่นเพื่อความสนุกสนาน และความซุกซนของน้องเหมียวนี่ล่ะที่จะทำให้แมงมุมขยาด ไม่กล้าเข้าใกล้รัศมีแมวกันเลย



 5. ปิดทางเข้าให้สนิท
เมื่อไม่อยากให้แมงมุมเข้ามาป้วนเปี้ยนอยู่ในบ้าน ก็ต้องจัดการปิดทางเข้าทุกทางที่คิดว่าแมงมุมจะสามารถไต่เข้ามาได้ เริ่มตั้งแต่สำรวจหน้าต่างก่อนเป็นอันดับแรก ว่ามีกิ่งไม้ หรือวัสดุที่ยื่นมาชิดกับขอบประตู และหน้าต่างบ้านหรือเปล่า หากมีก็คงต้องจัดการตัดทิ้งซะ เพื่อปิดทางเชื่อมต่อ ไม่ให้แมงมุมไต่เข้ามาในบ้านได้ และก็ควรใช้สเปรย์ป้องกันแมงมุมจากสูตรที่บอกไว้ข้างต้นมาฉีดพรมป้องกันไว้ด้วย


6. ละเลงกลิ่นส้มให้ฟุ้ง
แมงมุมเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบกลิ่นไซตรัสทุกชนิด หรือกลิ่นของผลไม้รสเปรี้ยวอย่างส้ม มะนาว เลมอน เกรปฟรุต ดังนั้นคุณจึงสามารถอาศัยความไม่ชอบของแมงมุมในข้อนี้ มาเป็นปราการป้องกันแมงมุมเข้าบ้านได้ ด้วยการใช้เปลือกส้ม หรือเปลือกมะนาว ละเลงตามขอบหน้าต่าง ขอบประตู มุมกำแพง ชั้นหนังสือ และจุดที่มักจะเจอแมงมุมบ่อย ๆ รวมทั้งตั้งน้ำหอมปรับอากาศกลิ่นส้มไว้ตามจุดต่าง ๆ ในบ้านด้วยก็ได้จ้า



 7. สกัดแมงมุมด้วยน้ำมันซีดาร์
ไม้ซีดาร์มีคุณสมบัติเฉพาะตัวในเรื่องของการป้องกันแมลง แต่ในบ้านเราอาจจะหาต้นซีดาร์ไม่ง่ายนัก เพราะเป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ แต่อาจจะหาน้ำมันสกัดจากต้นซีดาร์ได้ง่ายกว่า ซึ่งหากคุณหมดหนทางสกัดกั้นแมงมุมจริง ๆ ก็สามารถหาซื้อน้ำมันสกัดจากต้นซีดาร์ แล้วนำมาทาตามขอบหน้าต่าง ประตูหรือตามจุดที่มักจะมีแมงมุมมาป้วนเปี้ยนก็ได้ รับรองว่าเจอซีดาร์เข้าไป แมงมุมจะไม่กล้าเข้ามาใกล้บ้านคุณแน่ ๆ

 8. เกาลัด ยันต์กันแมงมุม
เม็ดเกาลัดที่แสนอร่อยก็เป็นยันต์กันแมงมุมชั้นดีเช่นกัน เพียงแค่คุณวางเม็ดเกาลัดตามจุดต่าง ๆ ในบ้าน ก็เหมือนเป็นการแปะป้ายห้ามเข้าสำหรับแมงมุมอย่างไรอย่างนั้นเชียวล่ะ ไม่เชื่อมาลองดูกันสักตั้งไหมจ๊ะ



 9. น้ำยาสกัดกั้นแมงมุมจากยาสูบ
เรารูกันดีว่ายาสูบไม่ดีต่อปอดของเราแน่ ๆ แต่อาจจะไม่รู้ว่า ยาสูบก็เป็นของแสลงสำหรับเจ้าแมงมุม 8 ขาด้วยเช่นกัน ดังนั้นคุณจึงสามารถใช้เส้นยาสูบวางตามมุมโปรดต่าง ๆ ของแมงมุม หรือจะนำยาสูบไปแช่น้ำ แล้วใช้น้ำนั้นฉีดพรมตามบริเวณต่าง ๆ ภายในบ้านเพื่อป้องกันแมงมุมก็ได้ค่ะ
สมุนไพรดับพิษ
แมงมุม
ขิง..ส่วนที่ใช้คือเหง้า โดยการหั่นเป็นแว่นบางๆนำไปวางบริเวณที่ถูกกัดจนอาการบวมแดงจะทุเลา
ตะขาบ
ผักเสี้ยนผี..ใช้ใบและลำต้น1กำมือ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว นำมาแปะตรงที่ถูกตะขาบกัด
แมงป่อง
มะละกอ...ใช้ใบ1กำมือ ทุบให้แหลกโปธตรงที่แมงป่องกัดความปวดจะบรรเทาใน5-10นาที      (จากหนังสือตำรับยาสมุนไพรของหลวงพ่อจรัญ)

มหัศจรรย์แห่งเส้นใย

เหตุที่แมงมุมเป็นสัตว์ที่จำเป็นต้องมีขายาวก็เพื่อใช้ยกลำตัวของตัวเองไม่ให้ไปติดกับใยที่มันชักวางไว้นั่นเอง....
ใยแมงมุมเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สนใจเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เพียงเพราะการออกแบบใยเท่านั้น แต่ เส้นใยของมันคือ วัสดุมหัศจรรย์ที่นักวิทยาศาสตร์สนใจ เส้นใยของแมงมุมมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะจับผึ้งซึ่งบินด้วยความเร็ว 32 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยที่ใยแมงมุมไม่ขาด ความยืดหยุ่นของเส้นใย ของแมงมุม Araneus diadematus สามารถยืดยาวได้ร้อยละ 30-40 ก่อนจะขาด ในขณะที่โลหะสามารถยืดได้เพียงร้อยละ 8 เท่านั้น และไนลอนสามารถยืดได้ประมาณ ร้อยละ 20 จากการทดสอบในห้องทดลองมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา พบว่าเส้นใยแมงมุม มีความทนทานต่อการย่อยสลายได้สูง อีกทั้งยังสามารถปั่นทอเส้นใยได้ทั้งในอากาศ หรือใต้น้ำ คุณสมบัติอันน่าทึ่งของใยแมงมุม เป็นแนวคิดในการผลิตสายเคเบิ้ล ที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้สูง



รูปขยาย 10000 เท่าด้วยElectron microscope ที่นักวิทยาศาสตร์จะยืดใยแมงมุมจนมันขาด แล้ววัด "แรง" ที่ใช้


เส้นใยของแมงมุม มีความแข็งแรงมาก จากการทดสอบพบว่า มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กที่มีน้ำหนักท่ากันถึง 6 เท่า เปรียบเทียบได้ว่า ถ้าหากใยแมงมุมมีความหนาเท่ากับขนาดดินสอ ใยแมงมุมสามารถหยุดการเคลื่อนที่ของเครื่องบินโบอิ้ง 747 ที่กำลังบินอยู่ได้
เส้นใยแมงมุมกว่าร้อยละ 50 ประกอบด้วยโปรตีน ที่เรียกว่า ไฟโบรอิน (fibroin) ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 200,000 – 300,000 ดาลตัน ซึ่งสร้างจากต่อมสร้างใยของแมงมุม โปรตีนเหล่านี้ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน ซึ่งชนิดของกรดอะมิโนนั้นถูกควบคุมโดยยีนของแมงมุมแต่ละชนิด



แมงมุมผลิตเส้นใยหลายชนิด เพื่อการใช้งานที่หลากหลายและต่อมผลิตเส้นใยก็มีชื่อเรียกแตกต่างกัน
ต่อม Ampulleceae major และ minor ผลิตเส้นใยสำหรับใช้ในการไต่
ต่อม Pyriformes สร้างเส้นใยที่สานกันเพื่อดักเหยื่อ
ต่อม Aciniformes สร้างใยเพื่อใช้ในการหุ้มตัวเหยื่อ
ต่อม Tubiliformes สร้างเส้นใยเพื่อเป็นถุงหุ้มไข่
ต่อ Coronatae สร้างเส้นใยที่มีความเหนียวเป็นพิเศษ
แมงมุม Cribellate พบ ต่อม cribellar ซึ่งประกอบด้วยท่อเล็ก ๆ ที่สามารถสร้างเส้นใจที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กมาก ประมาณ 20 นาโนเมตร ซึ่งเส้นใยนี้เรียกว่า cribellum
ชนิดของเส้นใยที่แมงมุมสร้างขึ้นนั้น เกิดจากการผสมกันระหว่างของเหลงจากต่อมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความเร็ว และปริมาณเส้นใยที่สร้าง แมงมุมสามารถนำเส้นใยกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากใยแมงมุมอาจจะถูกทำลายด้วยสภาพอากาศ และอาจเสียหายเนื่องจากเหยื่อที่มีขนาดใหญ่
โดยทั่วไป หลังจากเส้นใยถูกใช้ ประมาณ 2 วัน เส้นใยของแมงมุมจะสูญเสียความหนืดที่ผิวเส้นใย แมงมุมจะกินเส้นใยเก่าและสร้างเส้นใยใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งการตัดและย่อยเส้นไยแมงมุมนั้น แมงมุมจะใช้น้ำย่อยพิเศษ ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ที่มีความหลากหลายมากกว่าการย่อยสิ่งอื่น ๆ และเป็นน้ำย่อยชนิดเดียวกันกับที่แมงมุมใช้ในการเชื่อมเส้นใยแต่ละเส้นเข้าด้วยกัน
ในปี ค.ศ. 2002 นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาได้คัดแยกยีนจากแมงมุม และนำไปใส่ในเซลล์ของแพะ โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม พบว่าแพะสามารถผลิตน้ำนมที่มี Fibroin ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดเดียวกันกับที่พบในใยแมงมุม แต่จากการทดลองพบว่ามีเส้นใยเพียงร้อยละ 20 – 40 เท่านั้น ที่มีความแข็งแรงเทียบเท่ากับใยแมงมุมจากธรรมชาติ แต่ทีมวิจัยคาดว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ในอนาคต
โดยปรกติแมงมุมจะผลิตใยขึ้นแตกต่างกันถึง 7 ประเภท ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน แต่ใยแมงมุมประเภท dragline เป็นเส้นใยประเภทที่ได้รับความสนใจในการสังเคราะห์ขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเส้นใยประเภทนี้มีความแข็งแรงมากเป็นเส้นใยที่แมงมุมใช้ปล่อยตัวจากที่สูงและใช้เป็นใยวงนอกสุดและเส้นใยโครงที่แผ่จากจุดศูนย์กลางของใยแมงมุมในการดักแมลง อย่างไรก็ตามเส้นใยแมงมุมที่สังเคราะห์และผลิตขึ้นได้นี้มีความแข็งแรงที่ต่ำกว่าใยแมงมุมธรรมชาติ แต่มีความแกร่งและความเหนียวเทียบเท่ากันในอนาคตจะมีการพัฒนาให้ใยสังเคราะห์มีสมบัติที่ดีขึ้นและมีหลายประเภทเช่นเดียวกับใยในธรรมชาติเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน
 ในขณะที่ทีมนักวิจัยในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ขนาดของเส้นใยมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 20 นาโนเมตร ทำให้ใยแมงมุมมีความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดี ดังนั้นเมื่อ เส้นใยแมงมุม แต่ละเส้นประกอบด้วยเส้นใยที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้เส้นใยแมงมุมมีคุณสมบัติพิเศษ แตกต่างจากเส้นใยทั่วไป




ประโยชน์ของใยแมงมุมสังเคราะห์ในทางการแพทย์นั้น ใยเหล่านี้คาดว่าสามารถถูกนำมาใช้ผลิตวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เย็บหลอดเลือด แผ่นปิดแผล กาว ไหมละลาย หรือแม้แต่เส้นเอ็นเทียม ทั้งนี้ด้วยความเหนียวที่เป็นเยี่ยมของใยแมงมุม ทำให้การขาดเสียหายของอุปกรณ์เหล่านี้จากการใช้งานลดต่ำลง นอกจากนี้ยังสามารถที่จะลดขนาดของอุปกรณ์บางประเภทแต่ยังคงความแข็งแรงตามเดิม เช่น ไหมละลาย เป็นต้น นอกจากนี้อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้งานระยะยาวไม่ว่าจะเป็นแบบถาวรหรือแบบสลายตัวได้ก็จะสามารถถูกผลิตจากใยแมงมุมสังเคราะห์ได้เช่นกัน นอกจากประโยชน์ทางการแพทย์แล้ว ใยแมงมุมสังเคราะห์ยังสามารถใช้งานทางอุตสาหกรรมที่ต้องการเส้นใยประสิทธิภาพสูง เช่น การทำเสื้อเกราะอ่อนกันกระสุน เชือกหรือเส้นเอ็น หรือเอ็นของเบ็ดตกปลา เป็นต้น


ตัวอย่างชนิดของแมงมุม

แมงมุมบ้านทั่วไป
Family Diaspidae

ภาพลักษณ์
·       ตัวเต็มวัย มีความยาวที่ไม่รวมขา คือ 6-10 มม. มีลำตัวสีเหลืองน้ำตาลเเละมีรอยเลือนๆ บริเวณท้องมีสีเทาน้ำตาลซีดและมีขนสั้น

วงจรชีวิต
·       ถุงไข่้ที่ผลิตโดยตัวเมียจะมีลักษณะกลม มันจะถูกปกคลุมด้วยชั้นของใยไหมเเละวางไว้ในโครงสร้างของใยเเมงมุม
·       ตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายครั้งก่อนที่จะตาย
·       ตัวเต็มวัยสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี

นิสัย
·       สามารถพบได้ตามตึก, ที่เก็บของ, เเละกำเเพง
·       เเมงมุมจะชักใยเเบบ Sheet Web


แมลงมุมขายาว
Phalangium Opilio

ภาพลักษณ์
·       ตัวเต็มวัย - มีลำตัวยาว 3.5-9 มม. ช่วงลำตัวด้านบนมีลวดลายสีเทาอ่อน/น้ำตาล ส่วนข้างล่างโดยทั่วไปมีสีครีม

วงจรชีวิต
·       ตัวเมียวางไข่ในดินที่ชื้น
·       ไข่จะรอดจากช่วงฤดูหนาวและฟักเป็นตัวในฤดูใบไม้ผลิ.
·       ไข่จะถูกวางเพียงเเค่ครั้งเดียวในเเต่ละปี

นิสัย
·       พวกมันอาศัยอยู่ในทุ่งนาและป่า พวกมันจะปีนไปบนต้นไม้และมองหาอาหารบนดิน
·       พวกมันจะกินสัตว์จำำพวกอาร์โทรพอด (Arthropod) ที่มีลำตัวอ่อนหลายชนิดรวมทั้งเำำพลี้ยต้นรัก, หนอนผีเสื้อ, ตัวอ่อนของเต่าทอง, และตัวทากตัวเล็ก


แมงมุมหมาป่า
Trochosa ruricola

ภาพลักษณ์
·       ตัวเต็มวัย เพศเมียมีขนาด: 8 มม; เพศผู้ - 6 มม. และมักมีสีน้ำตาลถึงเทา

วงจรชีวิต
·       แมงมุมชนิดนี้ตัวแม่จะหอบหิ้วถุงไข่ของมันติดไว้กับอวัยวะสร้างใยใต้ช่องท้อง
·       เมื่อลูกแมงมุมฟัก มันจะคลานขึ้นไปอยู่บนหลังของแม่เพื่ออยู่อาศัยในช่วงสัปดาห์แรกๆของชีวิตมัน

นิสัย
·       พวกมันจะล่าเหยื่อตอนกลางคืนและจะใช้เวลาตอนกลางวันซ่อนตัวในพืชพวกมอสหรือพวกซากปรักหักพัง
·       พวกมันมักอาศัยในหนองน้ำตื้นที่มีทางเข้าเปิดและรกร้าง


แมงมุมม้าลาย
Salticus scenicus

ภาพลักษณ์
·       ตัวเต็มวัย ขนาดลำตัวยกเว้นขา ยาว 5-6 มม. ลำตัวจะมีแถบสีดำและขาว ลักษณะขาสั้นแต่แข็งแรง และมีขน

วงจรชีวิต
·       ตัวเมียจะอยู่กับถุงใส่ไข่และจะคอยปกป้องตัวอ่อน ลูกแมงมุมจะจากตัวแม่ไปหลังจากมันลอกคราบครั้งที่สอง

นิสัย
·       มันพบในบ้านและในสวน
·       พวกมันจะออกล่าเหยื่อ ดังนั้นจึงไม่มีการชักใย
·       มักจะพบเห็นพวกมันกระโดด


แมงมุมพิษทาแรนทูล่า
Genus Aphonopelma

ภาพลักษณ์
·       ตัวเต็มวัย ความยาวลำตัวไม่รวมขาจะยาว 2.5-13 ซม. แมงมุมพิษทาแรนทูล่าส่วนมากจะมีลำตัวและขาเป็นขนสีดำหรือน้ำตาล แต่บางพันธุ์จะมีสีเด่นสะดุดตา

วงจรชีวิต
·       ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูผสมพันธุ์ การฟักตัวอ่อนจะใช้เวลา 6-9 สัปดาห์ โดยที่ตัวเมียแต่ละตัวจะสามารถผลิตไข่ได้ 500-1000 ฟองไว้ในรังไข่นุ่มลื่น ตัวอ่อนจะทิ้งรังไปหลังจาก 2-3 สัปดาห์
·       มีอายุอยู่ได้ 25-40 ปี

นิสัย
·       มีมากกว่า 60 จีนี่ (genii) และกว่า 800 สายพันธุ์
·       แมงมุมพิษทาแรนทูล่าชอบอยู่ในที่แห้ง และดินที่น้ำถ่ายเทได้ดีเพราะมันจะต้องเจาะโพรงเพื่อชักใย


แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล
Loxosceles reclusa

รูปลักษณ์
·       ความยาว ¼ นิ้ว ถึง ¾ นิ้ว
·       มีสีน้ำตาลหรือสีเหลืองเข้ม
·       มีขาที่ยาวและเรียวบางซึ่งปกคลุมด้วยขนบางๆ
·       มีหกตาเรียงตัวเป็นคู่ในรูปแบบครึ่งวงกลม
·       มักถูกเรียกว่าแมงมุม ‘Fiddleback’ หรือ ไวโอลินเนื่องจากพวกมันมีลายสัญลักษณ์รูปทรงไวโอลินที่บริเวณพื้นผิวด้านบนซึ่งชี้จากบริเวณหัวไปยังบริเวณช่วงท้อง

วงจรชีวิต
·       จะวางไข่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมเป็นหลัก
·       ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 50 ฟองในถุงลักษณะคล้ายไหมสีขาวนวล ซึ่งถุงนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2/3 นิ้ว
·       แมงมุมตัวเล็กๆจะปรากฏตัวออกมาประมาณ 1 เดือนหลังจากนั้น
·       ใช้เวลาโดยเฉลี่ยหนึ่งปีเพื่อที่จะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัย
·       ตัวโตเต็มวัยสามารมีชีวิตอยู่ได้ 12 ปี

พฤติกรรม
·       สถานที่ พวกมันชอบสถานที่นอกบ้านเรือนหรือภายในบ้านเรือนที่สันโดษ มืด และไม่ถูกรบกวน ภายในบ้านเรือนอาจจะพบพวกมันได้ที่ห้องใต้หลังคา, ห้องใต้ดิน, ตู้เสื้อผ้า, กล่องใส่ของ, รองเท้าหรือด้านหลังของเฟอร์นิเจอร์ ภายนอกบ้านเรือนนั้นพวกมันสามารถถูกพบได้ที่ ยุ้งข้าว, กระท่อมเก็บของ, ใต้ท่อนไม้, หินและกองเศษไม้
·       การกิน พวกมันชอบแมลงที่ตายแล้ว พวกมันสามารถมีชีวิตอยู่โดยปราศจากอาหารและน้ำได้ประมาณ 6 เดือน
·       สามารถพบเห็นได้ ถุงจะทำหน้าที่เป็นที่ล่าถอยของแมงมุมในเวลากลางวัน พวกมันมักจะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืน
·       การกัด พวกมันจะกัดก็ต่อเมื่อถูกบดบี้ จับ หรือรบกวนเท่านั้น ทั้งเพศผู้และเพศเมียนั้นมีพิษ ปฏิกิริยาตอบสนองของมนุษย์ต่อการกัดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณพิษที่ได้รับและความไวต่อสิ่งกระตุ้นของแต่ละบุคคล บางคนก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย บางคนอาจจะรู้สึกเหมือนรำคาญเล็กน้อยจากการกัดเบาๆ บางคนอาจจะมีความรู้สึกเหมือนถูกต่อยและตามด้วยความเจ็บปวดอย่างรุนแรง บางคนอาจจะไม่รู้สึกตัวต่อการถูกกัดหลังจากการกัดไปแล้ว 2 ถึง 8 ชั่วโมง


แมงมุมท้องเหลือง
Cheiracanthium

รูปลักษณ์
·       ไม่มีสี ที่บริเวณช่วงอกสามารถมีสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อนโดยมีแถบลายสีดำจางๆตีเส้นในแนวยาว
·       ความยาว ¼ นิ้ว ถึง 3/8 นิ้ว
·       มีขา 4 คู่ ขาคู่ที่หนึ่งยาวกว่าขาคู่ที่สี่
·       มีตาสีดำ 8 ดวงซึ่งมีขนาดเท่าๆกันวางตัวในแนวนอนเป็นสองแถว

วงจรชีวิต
·       ตัวเมียจะผลิตถุงไข่ 5 ใบโดยแต่ละใบจะมีไข่ 30 ถึง 48 ฟอง ในช่วงชีวิตของตัวเมียอาจจะผลิตไข่ได้อย่างมากมาย
·       จะมีการวางไข่ในฤดูใบไม้ร่วง
·       แมงมุมขนาดเล็กจะปรากฏตัวออกมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ตามมา
·       โดยประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของตัวผู้จะถูกตัวเมียกินหลังจากการจับคู่ผสมพันธุ์

พฤติกรรม
·       การกิน โดยปกติพวกมันจะกินแมลงขนาดเล็ก
·       สถานที่ พวกมันจะสร้างหลอดคล้ายไหมหรือสร้างถุง (แทนที่จะเป็นใย) ในพื้นที่ที่เป็นที่ปกป้องของมันซึ่งพื้นที่นี้มักใช้เป็นที่สำหรับการล่าถอยในเวลากลางวัน
·       หากอยู่ภายนอกบ้านเรือนแล้วสิ่งนี้อาจจะอยู่ที่ใบไม้หรือท่อนไม้ ; หากอยู่ภายในบ้านเรือนสิ่งนี้อาจจะอยู่ที่จุดเชื่อมต่อของกำแพงและเพดานหรือด้านหลังของรูปและชั้นวางของ โดยธรรมดาแล้วพวกมันเป็นแมงมุมที่อาศัยอยู่นอกบ้านเรือนแต่พวกมันอาจจะเข้ามาอาศัยอยู่ภายในบ้านเรือนหากมีแมลงขนาดเล็กภายในบ้าน พวกมันมักจะเข้าสู่บ้านเรือนในช่วงฤดูใบไม่ร่วงเมื่ออาหารที่อยู่ข้างนอกนั้นเริ่มลดน้อยลง
·       สามารถพบเห็นได้ ตัวโตเต็มวัยสามารถพบเห็นได้ตั้งแต่เดือนเมษายนตลอดจนถึงเดือนพฤศจิกายน พวกมันจะปรากฏตัวในช่วงกลางคืน เมื่อถูกรบกวนพวกมันจะปล่อยตัวเองให้ตกลงมาที่พื้นเพื่อหาที่กำบัง
·       การกัด การกัดของมันนั้นค่อนแหลมคมรุนแรงและเจ็บปวดและอาจทำให้เกิดผื่นแดงและอาการบวม อาจเกิดรอยแดงจากการกัดและทำให้เกิดเนื้อตายซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาแปดสัปดาห์ในการรักษา ความเจ็บปวดหรือความรู้สึกชาที่บริเวณที่ถูกกัดนั้นอาจจะมีอาการเหงื่อออก คลื่นไส้ตามมาซึ่งอาจจะกินเวลาถึง 24 ชั่วโมง


แมงมุม Funnel Web
ตระกูล Agelenidae (ในตระกูลนี้มีประมาณ 500 สายพันธุ์ จากทั้งหมดมากกว่า 40 ตระกูลทั่วโลก)

ภาพลักษณ์
·       มีความยาวได้ถึง 1.5 นิ้ว
·       มีสีน้ำตาลเข้ม / ดำ
·       มีลักษณะเรียบๆ/มีเปลือกเป็นมันวาว
·       พวกมันได้ชื่อนี้มาจากรูปทรงของใยของพวกมัน

วงจรชีวิต
·       พวกมันจะโตเต็มวัยหลังจากผ่านไป 2 – 4 ปี
·       ตัวผู้จะมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกถึง 9 เดือนหลังจากโตเต็มวัยแล้ว ในขณะที่ตัวเมียจะมีชีวิตอยู่ต่อได้อีก 10 ปีหรือประมาณ 10 ปี
·       แมลงมุมเหล่านี้จะใช้ชีวิตตามปกติตลอดเวลา พวกมันไม่มีการจำศีลในช่วงฤดูหนาว
·       โดยปกติตัวเมียจะอยู่ภายในรูเสมอ แต่ตัวผู้นั้นจะร่อนเร่เพื่อจับคู่สืบพันธุ์

นิสัย
·       แมงมุม Funnel Web เกือบทั้งหมดจะเป็นสัตว์ที่หากินตอนกลางคืน
·       พวกมันจะอาศัยอยู่ใต้ก้อนหินและภายในท่อนไม้ที่เน่าเปื่อยหรือพุ่มไม้หนา พวกมันไม่ชอบอากาศแห้ง ดังนั้นจะมักจะพบพวกมันได้เมื่อสภาพอากาศชื้นหรือเปียกหรือว่าโพรงของพวกมันถูกน้ำท่วม
·       พวกมันมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง
·       พวกมันสร้างใยรูปทรงกรวยที่มีขนาดใหญ่ ขนาดอาจใหญ่ถึง 100 เท่าของตัวพวกมันเอง โดยมีการสร้าง เชือกสะดุดที่คอยเตือนพวกมันหากมีการเคลื่อนที่ใดๆใกล้พวกมัน
·       ไม่ใช่ว่าแมงมุม Funnel Web ทุกตัวจะมีพิษ


แมงมุมหางขาว
Lampona murina

ภาพลักษณ์
·       แมงมุมหางขาวตัวเมียยาวถึง 18 มม และตัวผู้ยาวถึง 12 มม.
·       มีลำตัวสีเทาและน้ำตาล และมีแถบเด่นสีขาวบริเวณปลายท้อง

วงจรชีวิต
·       พวกมันจะสร้างใยชั่วคราวเพื่อหลบหนี และ ใยแผ่นลักษณะเหมือนแผ่นดิสก์สำหรับถุงไข่ ซึ่งแต่ละถุงจะใส่ไข่ได้สูงสุดถึง 90 ฟอง
·       ตัวเมียจะปกป้องไข่จนกว่าไข่จะฟักตัวในสามสัปดาห์
·       พวกมันจะวางไข่ปีละครั้ง

นิสัย
·       พวกมันมักอาศัยในสวน บ้าน ใต้เปลือกไม้ หิน กองใบไม้และอื่นๆ
·       มักออกหากินเวลากลางคืน เพื่อออกล่าแมงมุมอื่นๆ

·       แมงมุมหางขาวจะกัดคนเมื่อถูกแหย่

ลิงค์ประกอบ http://www.slideshare.net/icon753951/ss-44481612

1 ความคิดเห็น: